นายสิรวิชณ์ ก่ออิฐ
ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูน

  ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติโครงการชลประทานลำพูน
วิสัยทัศน์
โครงสร้างองค์กร
อัตรากำลัง
ติดต่อเรา
 
  หน่วยงานภายใน
 
ฝ่ายวิศวกรรม
ฝายจัดสรรน้ำ
ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1
ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2
ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3
ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4
ฝ่ายช่างกล
งานบริหารทั่วไป
 
  คำสั่ง/ประกาศ
 
คำสั่ง
ประกาศ
 
  ผลการปฏิบัติราชการ
 
คำรับรองปฏิบัติราชการ
 
  KM ศูนย์ความรู้
 
คู่มือสำหรับประชาชน
 
  สารสนเทศบริหารจัดการน้ำ
 
ระบบการบริหารจัดการน้ำเครือข่ายอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำแม่อาว
 
  Download file
 
แบบฟอร์มต่าง ๆ
 
  แผนผังเว็บไซต์
 
แผนผังเว็บไซต์
 
  แบบฟอร์มใบแจ้งการชำระเงิน Bill Payment
 
แบบฟอร์มใบแจ้งการชำระเงิน Bill Payment
 
  ฐานข้อมูลโครงการ
 
สรุปโครงการพระราชดำริ
นำเสนอโครงการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดกลาง
แผนที่1ต่อ50,000 จังหวัดลำพูน
 
นับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
ชมขณะนี้
54 คน
เข้าชมวันนี้
132 คน
เข้าชมเมื่อวาน
คน
เข้าชมเดือนนี้
132 คน
เข้าชมปีนี้
18759 คน
เข้าชมทั้งหมด
122149 คน
     เริ่มนับ 11 มีนาคม 2559
สอบถามความพึงพอใจ

ความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ ?

มากที่สุด
ปานกลาง
ปรับปรุง

   Update: 2024-05-28 14:53:45ชม:(30)ครั้ง
คณะผู้บริหารสำนักงานชลประทานที่ 1 ร่วมประชุมสรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และเตรียมรับมือฤดูฝน ปี 2567 ผ่านระบบ Zoom Meeting


วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายอัฏฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 นายสุภรณ์วัฒน์ สุรการ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูน นายชยุต สมัครวงษ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน หัวหน้าฝ่าย ข้าราชการ และผู้แทนจากศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมสรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/ 67 และเตรียมรับมือฤดูฝน ปี 2567 ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมี นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตินิยมวิทยา และนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมการประชุม รับสัญญาณจากห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ ชั้น 3 อาคาร 99 ปี มล.ชูชาติ กำภู กรมชลประทานสามเสน กรุงเทพมหานคร มายังห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 1 (SWOC1) ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยความปราณีตและรัดกุม ประกอบกับได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรและประชาชนทุกภาคส่วนที่ร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด จึงทำให้การใช้น้ำเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเพียงพอ ต่อจากนี้จะเป็นการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 67 (1 พ.ค.-31 ต.ค.67) ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า สภาวะเอลนีโญในขณะนี้จะอ่อนกำลังลงและเปลี่ยนเข้าสู่ภาวะเป็นกลาง ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยมีความน่าจะเป็นถึงร้อยละ 69 ที่จะเปลี่ยนสู่สภาวะลานีญ่า ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน และจะคงสภาวะนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2567 จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศให้ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 67 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์และอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ควบคู่ไปกับการเก็บกัก รวมทั้งตรวจสอบอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ มีการกำหนดคน กำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดเครื่องจักรเครื่องมือและระบบสื่อสาร ประจำพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนได้มากที่สุด ตามข้อสั่งการของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ด้าน นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้สรุปผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี66/67 ว่าในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567) ไว้ทั้งสิ้น 24,985 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาวางแผนจัดสรรน้ำไว้ประมาณ 8,700 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร และอุตสาหกรรม รวมไปถึงการควบคุมค่าความเค็มและคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักต่างๆ ปัจจุบันสิ้นสุดฤดูแล้งแล้ว พบว่าทั้งประเทศมีการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้งรวมทั้งสิ้นประมาณ 23,832 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำรวมประมาณ 8,586 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนฯ ภาพรวมผลการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ พื้นที่ในเขตชลประทานไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ อีกทั้ง ยังมีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนอย่างเพียงพอ โดย ณ วันที่ 1 พ.ค. 67 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศมีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 41,765 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้อีกกว่า 34,572 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 11,256 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้อีกกว่า 13,615 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันนี้ ยังได้วางมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ไปจนถึงฤดูแล้งหน้า ด้วยการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศอย่างเพียงพอ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำ รวมทั้งวางแผนป้องกันอุทกภัย เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด
ในการนี้ นายอัฏฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้กำชับและเน้นย้ำให้โครงการชลประทานและโครงการส่งน้ำทุกแห่ง เร่งดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและน้ำท่วมซ้ำซาก พร้อมทั้งดำเนินการกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการระบายน้ำ เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและสื่อมวลชนรับรู้รับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ตามข้อสั่งการของอธิบดีกรมชลประทานในการปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 67 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด สู่ 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน อย่างเคร่งครัด
วันที่ปรากฏเหตุการณ์: 2024-5-27
โดย: rid_lp



 

โครงการชลประทานลำพูน
สำนักงานชลประทานที่ 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
102 หมู่ 2 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
โทรศัพท์:053-006262 E-Mail:lamphun@rid.go.th
นางสาวภัทรภร แช่มปรีชา รับผิดชอบเว็บไซต์

Back to Top